ประเมิน

การออกแบบเครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้

P’Nhym BaanreanThai

Repost of denying Standardized Test!
Multi-intelligences in human being can’t be judged onto various of learning’s qualities by a same test.!

โพสต์เมื่อ 2 ปีที่แล้ว
วนมาให้เรียนรู้ร่วมกันสำหรับผู้จัดการศึกษาน้องใหม่นะคะ
—-
การออกแบบเครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้
ไม่สอดคล้องกับกระบวนการเรียนรู้ตามศักยภาพความถนัดของผู้เรียน ทำให้เราไปไม่ถึงวิธีการปฏิรูปการเรียนรู้
เพราะเกิดการตัดสินความสามารถของเด็กโดยไม่เป็นธรรม
—-
ขณะนี้
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ยังยึดติดการใช้ข้อสอบ แบบกระดาษข้อสอบกลาง เพื่อประเมินผลและทดสอบการอ่านออกเขียนได้/คุณภาพการเรียนของนักเรียนในระบบโรงเรียน ทั้งประเทศรวมมาใช้กับเด็กบ้านเรียนด้วย

บ้านเรียนใดมีความเห็นว่า ข้อสอบชุดนั้น ไม่สอดคล้องกับวิธีการ และ กระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนตามศักยภาพความถนัดและเป้าหมายการพัฒนาคุณภาพของแผนการศึกษา

ครอบครัว สามารถทำหนังสือปฏิเสธแบบทดสอบที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาใช้ และ … “ขอรับการประเมินผลตามสภาพจริงตามแผนการศึกษาของครอบครัว” ค่ะ

เนื่องจาก ปรัชญาการศึกษาโดยครอบครัว ที่เริ่มต้นพัฒนาและเชื่่อมโยงกระบวนการเรียนรู้จากความถนัดและความสนใจของผู้เรียนเป็นตัวตั้ง จะมีระยะของพัฒนาการในการพัฒนาด้านการอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์ ที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะเราเน้นการใช้ทักษะการฟังเพื่อการเรียนรู้ด้วยหัวใจ

เด็กบ้านเรียนที่ถนัด ใช้ Hand ก่อน จะเป็นนักคิดวิเคราะห์ด้วย Heart และ Head ผ่านการลงมือทำงาน ส่วนใหญ่เริ่มต้นจากการทำงาน/งานประดิษฐ์/วิ่งเล่น/เขียนภาพ และ มักจะถนัดอ่านความเข้าใจต่อโลกรอบตัว ด้วย “อวจนภาษา” และใช้ทักษะการฟังและการพูดเพื่อการสื่อสารด้วยภาษาให้ตรงตามเป้าหมายอย่างมีความหมาย

เด็กบ้านเรียนที่ถนัด ใช้ Head จาก Heart ผ่าน วจนภาษา ก่อน จะสามารถทำข้อสอบได้ แต่ขึ้นกับข้อสอบว่าเป็นข้อสอบที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ที่ผ่านมาหรือไม่

ส่วนเด็กบ้านเรียนที่ถนัด ใช้ Heart Head และ Hand ผ่าน วจนภาษา เป็นเด็กที่เรียนรู้หลากหลายทาง ก็จะสามารถทำข้อสอบได้ แต่อาจจะตอบเป้าหมายคุณภาพการอ่านออกเขียนได้ตรงกับวิธีการเรียนรู้ตามสภาพจริงหรือไม่ ควรแยกแยะชัดเจน

อย่างไรก็ดี การศึกษารายบุคคล เน้นการประเมินผลตามสภาพจริง และเป็นการประเมินผลเพื่อพัฒนา … ไม่ใช่การประเมินผลเพื่อตัดสินว่า เด็ก อ่านออกเขียนได้ หรือ อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ตามที่ส่วนกลางนึกอยากจะใช้เครื่องมืออะไรก็ได้ มาวัดเด็กๆ … เด็ก ๆ ในระบบโรงเรียนก็ควรได้รับการให้คุณค่านี้เช่นเดียวกัน

การปฏิเสธการทำข้อสอบ ไม่ใช่การใช้อภิสิทธิ์ใดๆ หรือการถูกมองว่าแปลกแยก
วิธีการปฏิเสธเป็นการพิเคราะห์และสามารถแสดงให้เห็นชัดเจนว่า ผู้สอนควรมีพื้นที่อิสระในการประเมินผลผู้เรียนได้ตามกระบวนการเรียนรู้ได้ของผู้เรียน ซึ่งอาจมีระยะพัฒนาการของความถนัดที่แตกต่างกัน เป็นการเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้เรียน เพื่อขยายผลในการช่วยพัฒนาต่อยอดได้ตรงตามศักยภาพของผู้เรียนให้ทุกคนมีพื้นที่การเรียนรู้ที่ไปต่อได้ทุกคนอย่างเสมอภาค

การปล่อยให้เด็กๆ เป็นหนูทดลองข้อสอบแบบเดียวกันทั้งประเทศ ไม่ได้ตอบโจทย์การหวังผลให้การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน

โดยเฉพาะหากเราใช้เครื่องมือด้วยระบบการทดสอบแบบเดียวกันทั้งประเทศ นัั่นคือ เรากำลังยอมรับการสร้างข้อจำกัดที่ทำให้เด็กๆ ถูกตัดสินคุณค่าของตนเองด้วยแบบทดสอบที่กำหนดโดยคนที่ไม่ได้จัดการเรียนการสอนและจะมีส่วนร่วมในการพัฒนาต่อยอดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนโดยตรง

ประเมิน

Formative Assessment for Child Center!

P’Nhym BaanreanThai

Formative Assessment for Child Center!
Homeschooling Model

#บ้านเรียน
สิทธิการเรียนรู้ของเด็กและผู้จัดการศึกษา
ที่ก้าวพ้นกรอบอำนาจรวมศูนย์แบบเดิมๆ
ไปให้ถึงแนวทางพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่มีความแตกต่างกัน
สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ด้วยมิตรไมตรีร่วมเกื้อหนุนผู้เรียน

หากเริ่มมีการใช้อำนาจจาก จนท.รัฐฝ่ายเดียว
ควรยุติบทบาทการใช้อำนาจนั้นก่อนการดำเนินงานต่อใดๆ
เพื่อทำความเข้าใจใหม่ด้วยหลักวิชาการรับรองวิธีการที่แตกต่างและหลักกฎหมายคุ้มครองสิทธิทางการศึกษาแล้วว่า
อำนาจนั้น คือ อำนาจนอกเหนือหน้าที่ที่ควรทำ
กระบวนการหารือครั้งใหม่จะสร้างพื้นที่การดำเนินงานต่อ
ได้ด้วยความร่วมมือและองค์ความรู้ชุดใหม่ในก้าวต่อไป.

#บทสรุปการประเมินผลเพื่อผู้เรียนเป็นสำคัญ
ต้องไม่มีอำนาจไม่ชอบธรรมในระบบการศึกษา
อำนาจนักวิชาการกำหนดเป้าหมายไม่สอดคล้องกับเด็ก
อำนาจผู้ประเมินเลือกใช้เครื่องมือจำกัดสิทธิการเรียนรู้
อำนาจการประเมินบั่นทอนจิตใจและโอกาสของผู้เรียน

พ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้จัดการศึกษา ภาคีเครือข่าย
มีสิทธิโดยสมบูรณ์ในการคุ้มครองปกป้องโอกาส
ร่วมพัฒนากระบวนการเรียนรู้ได้ตามอัตลักษณ์
ใช้บริบทแวดล้อมเชื่อมโยงโอกาส
หนุนเสริมสิทธิเปิดพื้นที่การเรียนรู้อย่างมีความสุขให้กับเด็กๆ

กฎหมาย, บ้านเรียน, ประเมิน

เลือกแล้วขอให้มั่นใจในการศึกษาทางเลือ

57431177_2317157888346429_7778262141869490176_n

P’Nhym BaanreanThai

#เลือกแล้วขอให้มั่นใจในการศึกษาทางเลือก
… ความสุขระหว่างการเรียนรู้ตอบโจทย์ชีวิตของบริบทที่มีความหลากหลาย
… พื้นที่การเรียนรู้สอดคล้องกับเวลา ณ จุดใดๆ คือ สิทธิของการเดินต่อของเด็กๆ ทุกคนอย่างมีศักดิ์ศรี

พรบ.การศึกษาแห่งชาติฯ กำหนดให้เด็กทุกคนได้รับโอกาสพัฒนาการเรียนรู้ตามศักยภาพที่แตกต่างกันอย่างมีศักดิ์ศรี เป็นไปตามหลักการสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีลงนามในพันธะสัญญา

งานวิจัยของ #สมาคมสภาการศึกษาทางเลือกไทย ปี 2553
แสดงข้อค้นพบว่า หลักสูตรแกนกลางฯที่กำหนดตัวชี้วัดให้เด็กทุกคนเรียนเหมือนกันนั้น ‘ผิดกฎหมาย ไม่สอดคล้อง กับ พรบ.การศึกษาแห่งชาติฯ’

การกำหนดการประเมินผลทุกตัวชี้วัดตามหลักสูตรแกนกลางไม่สอดคล้องกับหลักการพัฒนาบุคคลที่มีศักยภาพการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความถนัดที่แตกต่างกัน ทำให้ สพฐ.เชิญผู้แทนฝั่งเราไปทำหลักเกณฑ์และวิธีการปรับใช้หลักสูตรแกนกลางฯ สำหรับ กลุ่มเป้าหมายเฉพาะ และประกาศใช้ในปี 2554 ซึ่งพิสูจน์ว่า เด็กที่มีการเรียนรู้ตามบริบทที่หลากหลายทุกคนสามารถเข้าถึงมาตรฐานหลักสูตรแกนกลางฯ ได้ด้วย

1.วิธีเรียนรู้ที่แตกต่างกัน
… ทำให้ได้รับสิทธิในการทำแผนการศึกษา/หลักสูตรที่ยืดหยุ่นได้ตามศักยภาพและความพร้อมของผู้เรียน

2. แสดงคุณภาพตัวชี้วัดคุณภาพการเรียนรู้ด้วยตัวชี้วัดที่เกิดจากกิจกรรมการเรียนรู้ตามความถนัดความสนใจหรือพื้นฐานที่แตกต่างกัน
… ทำให้ได้รับสิทธิประเมินตามสภาพจริงและมีสิทธิปฏิเสธข้อสอบที่ไม่สามารถวัดคุณภาพการเรียนรู้ที่แท้จริงของเด็กได้

เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้การศึกษาทางเลือกไม่เน้นการเรียนเพื่อสร้างเกณฑ์เพื่อเปรียบเทียบ หรือ แข่งขันกัน

วิธีการเรียนแบบโรงเรียนรัฐ หรือ กศน. เป็นการเรียนแบบถูกกำหนดโดยแบบแผน Outcome Approach ซึ่งเหมาะกับการออกแบบหลักสูตรการเรียนเฉพาะทาง และ การประเมินโดยการใช้ข้อสอบ เพราะการยอมรับให้เด็กทุกคนต้องเรียนเหมือนกัน ซึ่งขัดแย้งกับหลักการสร้างโอกาสในการเรียนรู้ได้ตามธรรมชาติที่แตกต่างกันของผู้เรียน ถูกพิสูจน์มาแล้วว่าเป็นแนวทางที่ไม่เหมาะสมสอดคล้องกับเด็กทุกคน

วิธีการเรียนแบบการศึกษาทางเลือก ที่เห็นชัดในการเรียนของโรงเรียนทางเลือก โฮมสคูล และ ศูนย์การเรียน เป็นการเรียนแบบ Experience Approach เป็นการเรียนพื้นฐานทักษะชีวิต ผสมผสานการเรียนเฉพาะทาง

สิ่งที่เคริอข่ายการศึกษาทางเลือก จะต้องทำความเข้าใจให้หนักแน่น คือ ความเข้าใจเรื่อง การประเมินผลตามสภาพจริง ที่มีมาตรฐานสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางฯ ‘ไม่ใช่คนละมาตรฐาน’ การประเมินผลซึ่งสามารถอธิบายให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางฯ ที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองและประกาศใช้ ใบ ป.พ. มาแล้ว

เพราะเครือข่ายการศึกษาทางเลือกก้าวข้ามกับดักการเรียนแบบแข่งขันและเปรียบเทียบจนทำให้เด็กหลายคนเสียโอกาส เสียสมดุลชีวิต คือ การให้โอกาสเด็กทุกคนเริ่มต้นการเรียนรู้ตามธรรมชาติที่สนใจ พัฒนาเป็นความถนัดความเชี่ยวชาญได้ทุกที่ ทุกเวลา เป็นไปตามกฎหมายการศึกษา สอดคล้องกับ สิทธิเด็ก และ สิทธิมนุษยชน

เพื่อไม่ต้องย้อนกลับไปเปรียบเทียบกับการเรียนระบบแบบที่การศึกษากระแสหลักยังคลายตัวไม่ออก โดยนำหลักการกลับไปเปรียบเทียบกับแนวทางเดิมที่เราก้าวข้ามผ่านกันมาแล้ว.

ขอบคุณ fb บ้านโฮมสคูล ที่แลกเปลี่ยนเรื่องนี้ค่ะ

Cr : #สมาคมสภาการศึกษาทางเลือกไทย

บ้านเรียน, ประเมิน, ยื่นแผน, เขียนแผน

บันทึกของหนู บันทึกบ้านเรียน

ริน ฮัตเจสสัน

#บันทึกของหนู

53857872_856172904732319_3815808585405825024_o

เมื่อวาน (14 มีนาคม 2562) ไปส่งประเมินมา เขตว่าเดี๋ยวใกล้ๆ แล้วจะเรียกประชุมอีกที ว่าประเมินจะเป็นแบบไหน ปีก่อนเด็กทำโฮมสคูลน้อย เขตใช้วิธีให้ทำข้อสอบ เห็นว่าปีนี้จะให้พรีเซนท์ เดี๋ยวประเมินแล้วจะมาเล่าให้ฟังอีกทีค่ะ

ถ้ามองหาการศึกษาแบบเฉพาะบุคคล tailor made พอดีตัวสุดๆ อิสระ และยืดหยุ่นที่สุด รินเชียร์โฮมสคูลจดเขตนะคะ

เราเขียนแผนเอง โดยอิงหลักสูตรแกนกลาง ปรับให้เหมาะสมและสอดคล้องกับลูกเรามากที่สุด จะทำแบบ 8 สาระ หรือเขียนแผนเป็นกลุ่มประสบการณ์แบบที่รินทำก็ได้

เราดำเนินจัดการศึกษาเองอย่างยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนไปตามความสนใจและพัฒนาการของผู้เรียน ไม่มีการล็อคไว้ว่า ป.1 จะต้องเป็นยังไง ไม่มีข้อสอบให้ต้องมาติว เรื่องไหนเร็วก็ไปต่อได้ เรื่องไหนช้า ก็รอได้ ไม่ต้องไปเปรียบเทียบกับใคร

ระหว่างปี มีเขตมาเยี่ยม มีนิเทศน์มาให้คำแนะนำถึงบ้าน

มีงบอุดหนุนให้ด้วย ในฐานะที่เราเป็นสถานศึกษา ปีนี้ได้มาประมาณ 9,000 (ซึ่งไม่พอค่าหนังสือ แต่ดีกว่าไม่ได้ 😆)

ถึงเวลาก็รวบรวมร่องรอยการเรียนรู้ แล้วทำประเมินส่งให้เขต (เราประเมิน 70%)

เขตนัดประเมินอีกที เก็บ 30% ที่เหลือ จบ เลื่อนชั้น

ยากรอบเดียว ตอนเขียนแผน ซึ่งเราต้องเขียนกันเอง ไม่ควรไปจ้างใคร เพราะถ้าเราเขียนเอง มันจะเหมาะกับลูกเรา ถึงเวลาเราก็ทำตามแผน เก็บร่องรอยและประเมินตามแผน ทุกอย่างจะราบรื่นไปหมด

#บันทึกของหนู  #บ้านเรียนทำได้ง่ายจัง

กฎหมาย, ประเมิน

ข้อเสนอสำหรับการเตรียมประเมินผล v.2

P’Nhym BaanreanThai

#ข้อเสนอสำหรับการเตรียมการประเมินผล v.2
บ้านเรียนซึ่งจัดทำแผน ตามแนวทางการศึกษาทางเลือก
ในแผนที่อ้างอิง หลักเกณฑ์และวิธีการปรับใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.๒๕๕๑ สำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ
50020088_2184686928260193_3844532394673569792_n
◉ เอกสารที่เกี่ยวข้องกับวิธีการประเมินผลร่วมกับครอบครัว
อาจระบุเพียงว่า
“ทั้งนี้ การวัดและประเมินผลผู้เรียนเพื่อจบการศึกษา ผู้เรียนต้องมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด”

ขอให้อ่านรายละเอียดกันดีๆ นะคะ
เราสามารถยกมือชี้แจงในที่ประชุม ให้เพิ่มเติม
โดยปรับข้อความว่า

อ่านเพิ่มเติม “ข้อเสนอสำหรับการเตรียมประเมินผล v.2”

กฎหมาย, บ้านเรียน, ประเมิน

ใบระเบียนผลการเรียนฯ สำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ

Ippi Wattanasuwan

ในความแตกต่างหลากหลายมีคุณภาพของผู้เรียนอยู่ทุกผู้ทุกคน ถ้าผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษามองเห็นและเคารพในแนวคิดนี้ เราจะไม่มีเด็กเก่งและอ่อน เราจะไม่มีเด็กท้ายห้อง เราจะไม่มีเด็กโดดเรียน เราจะมีแต่เด็กที่เรียนรู้อย่างเป็นสุข และสนุกที่ได้เรียนสิ่งที่เลือก

ย่างเข้าปีที่ 6 ของการจัดบ้านเรียน เราได้ใบ ปพ.1 :ป/ฉ หรือใบ ปพ. สำหรับผู้เรียนตามแผนการจัดการศึกษาแบบกลุ่มประสบการณ์ หนึ่งในการยืนยันสิทธิการจัดการเรียนรู้ที่สะท้อนคุณภาพความแตกต่างหลากหลาย

ขอบคุณทุกแรงใจ แรงกาย แรงความคิดที่ร่วมเดินไปพร้อมกัน P’Nhym BaanreanThai ความชัดเจนและมั่นคงทำให้เราไม่ถูกความบิดพลิ้วของเจ้าหน้าที่ทำให้ไขว้เขว คำพูดที่พี่นิ่มกล่าวยังอยู่ในใจตลอดค่ะ “บ้านเรียนมีศักดิและศรีเทียบเท่าสถานศึกษา และจะภูมิใจมั้ยที่ครอบครัวจะรับผิดชอบให้เกิดคุณภาพที่ในฐานะสถานศึกษาหนึ่ง”

บ้านเรียนไม่ใช่การจัดการศึกษาตามอำเภอใจ แต่เป็นการตามความแตกต่าง และครอบครัวรับผิดชอบความแตกต่างให้มีคุณภาพ อ่านเพิ่มเติม “ใบระเบียนผลการเรียนฯ สำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ”

กฎหมาย, บ้านเรียน, ประเมิน

ใบ ป.พ.๑ ตามประกาศ หลักเกณฑ์และวิธีการปรับใช้หลักสูตรแกนกลาง พ.ศ.๒๕๕๑ สำหรับ กลุ่มเป้าหมายเฉพาะ

ข้อมูลจาก  P’Nhym BaanreanThai
(25 เม.ย. 59)

ใบ ป.พ.๑ ตามประกาศ หลักเกณฑ์และวิธีการปรับใช้หลักสูตรแกนกลาง พ.ศ.๒๕๕๑ สำหรับ กลุ่มเป้าหมายเฉพาะ (การศึกษาทางเลือก โฮมสคูล ศูนย์การเรียน มาตรา ๑๒ โรงเรียนทางเลือก โรงเรียนเฉพาะทาง เช่น โรงเรียนนาฏศิลป์ โรงเรียนกีฬา โรงเรียนเตรียมทหาร โรงเรียนพระปริยัติธรรม โรงเรียน ตชด. ฯลฯ การศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ การศึกษาพิเศษ การศึกษาสำหรับท้องถิ่นที่ห่างไกล ฯลฯ)

รูปแบบ ใบ ป.พ. ๑ : ป/ฉ
สำหรับ ระดับประถมศึกษา / กลุ่มเป้าหมายเฉพาะ
เป็นใบ ป.พ. แบบเปล่า สำหรับ ใส่ กลุ่มประสบการณ์/รายวิชา
ตามแผน/หลักสูตรการศึกษาที่ สถานศึกษาออกแบบ
ใบ ป.พ. รูปแบบ ใหม่นี้ สำหรับ ชั้นประถม ไม่มีปัญหา
ด้านหน้า : ช่องที่ระบุว่า “เวลาเรียน” สามารถใส่ข้อมูล
เวลาเรียน เป็น หน่วยกิต หรือ ร้อยละ ได้

แต่ ใบ ป.พ. ๑ : บ/ฉ สำหรับชั้น มํธยมต้น(การศึกษาภาคบังคับ)
และ ใบ ป.พ. ๑ : พ/ฉ สำหรับมัธยมปลาย (การศึกษาขั้นพื้นฐาน)
มีปัญหาเล็กน้อย คือ ช่องที่ระบุ “เวลาเรียน”
ใบ ป.พ .มัธยม ใช้คำว่า “หน่วยกิต” โดยที่ สวก.สพฐ. ไม่ได้ปรับตามมติที่ประชุม คือ ให้พิมพ์คำว่าร้อยละเวลาเรียน/สัดส่วนเวลาเรียน เพิ่ม จาก คำว่า หน่วยกิต แบบเดียว อ่านเพิ่มเติม “ใบ ป.พ.๑ ตามประกาศ หลักเกณฑ์และวิธีการปรับใช้หลักสูตรแกนกลาง พ.ศ.๒๕๕๑ สำหรับ กลุ่มเป้าหมายเฉพาะ”

กฎหมาย, บ้านเรียน, ประเมิน, ยื่นแผน, เขียนแผน

คู่มือ เปิดฟ้าบ้านเรียนและศูนย์การเรียนไทย

page_1_thumb_largeคู่มือเปิดฟ้าบ้านเรียนและศูนย์การเรียนไทย
การยื่นขออนุญาตจัดการศึกษามาตรา ๑๒
https://issuu.com/manncomely/docs/___________________________________

กฎหมาย, บ้านเรียน, ประเมิน

จะอยู่ในระบบการศึกษาได้อย่างไร?

ข้อมูลจาก P’Nhym BaanreanThai

How to be in Educational System?

การศึกษาที่ทำให้คนพัฒนาตนเอง เพื่อเป็นคนที่ได้รับการประเมินว่าทำถูกต้องที่กระทำกับกระดาษและตัวหนังสือ กับ การศึกษาที่ทำให้คนดำเนินชีวิตและการเรียนรู้ด้วยความความตระหนักรู้ภายในจากประสบการณ์ตรงที่กระทบใจว่าถูกผิดเป็นอย่างไร ควรเลือกเดินทางอย่างไรได้ด้วยตนเอง ต่างกัน คือ กระบวนการวางแผนต้นทาง การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ได้ระหว่างทาง และผลลัพธ์คุณภาพคนที่ปลายทาง

ระหว่างทาง สำคัญที่สุด เพราะ คือ กระบวนการการพัฒนาคนบนสถานการณ์ที่เป็นจริง

หลายปีที่ผ่านมา  งานที่เครือข่ายการศึกษาทางเลือก : บ้านเรียนและศูนย์การเรียน มาตรา ๑๒ ขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา คือ การปรับเปลี่ยนทั้งกระบวนการ  ตั้งแต่ กระบวนการทำแผน กระบวนการจัดกิจกรรม และกระบวนการประเมินผล

แนวทางการพัฒนาเด็กและเยาวชนควรสอดคล้องกับทิศทางที่เขียนไว้ในแผนการศึกษา ซึ่งเป็น Flexible Plan ปรับเปลี่ยน ยืดหยุ่นได้ตามสภาพการณ์สอดคล้องกับสถานการณ์ที่แปรเปลี่ยน ให้ความสำคัญต่อกระบวนการพัฒนาผู้เรียน (Child-Centered Learning Process) และได้รับการประเมินตามศักยภาพผู้เรียนแท้จริง (Authentic Assessment) มีผลเพื่อพัฒนาผู้เรียน (Formative Assessment) เป็นลำดับ โดยไม่ควรเป็นแบบโรงงาน เพราะมนุษย์มีความแตกต่างกันทั้งธรรมชาติในการเรียนรู้ได้ ความสนใจ ความถนัด ศักยภาพที่สะสมในตัวเองตามเหตุปัจจัยบริบทที่มีฐานประสบการณ์แตกต่างกัน   อ่านเพิ่มเติม “จะอยู่ในระบบการศึกษาได้อย่างไร?”

กฎหมาย, บ้านเรียน, ประเมิน

การยืนยันรับการประเมินผลตามสภาพจริง

พี่นิ่มมีตัวอย่าง #การยืนยันรับการประเมินผลตามสภาพจริง ของ บ้านเรียนบาราดี มาให้พิจารณาเป็นข้อมูลศึกษาร่วมกันนะคะ

ซึ่งหลังจากได้รับอนุญาตจัดการศึกษาเรียบร้อยแล้ว คณะทำงานเรื่องการประเมินผลทางเขตฯ พยายามใช้วิธีการวัดประเมินผลตามตัวชี้วัดรายชั้นปีของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาฯ พ.ศ.๒๕๕๑ หรือ ขอบังคับใช้ข้อสอบเพื่อวัดประเมินผลผู้เรียน ซึ่งไม่สอดคล้องกับวิธีพัฒนาการเรียนรู้ตามแผนการศึกษาของครอบครัว

หากครอบครัวใด ได้รับการปฏิบัติกึ่งบังคับ โดยที่วิธีการวัดและประเมินผลไม่ตรง หรือ ไม่สอดคล้องกับผลพัฒนาการเรียนรู้ตามสภาพจริงหรือ ก่อนการดำเนินการวัดประเมินผลทุกครั้ง ควรมีกระบวนการปรึกษาหารือ หรือ ในการส่งแบบบันทึกการประเมินผลรายปี สามารถทำหนังสือ หารือถึงวิธีการในการประเมินผลร่วมกัน ก่อนที่จะนัดหมายดำเนินการประเมินผล นะคะ

หมายเหตุ :
๑) หนังสือนี้เป็นเพียงตัวอย่างการใช้เหตุผลที่สอดคล้องกับบ้านเรียนบาราดี ครอบครัวอื่นๆ สามารถเขียนเหตุผลและการหารือ กับ สำนักงาน ตามสถานการณ์การทำงานร่วมกันนะคะ หากไม่แน่ใจ ขอให้ปรึกษาหารือ ครอบครัวรุ่นพี่ที่เคยยืนยันการประเมินผลตามสภาพจริงแล้ว ก่อนนะคะ
ปฐมวัย : Chawanlak Kriengparinyakij Ana Homeschool Bunyarattapun Yui Pornsuang
ประถม : Ippi Wattanasuwan Theeraphat Tepphan Baitulhug Homeschool Treekul ณิชมน พูลเพิ่ม Pattama Kaewkoreird
มัธยม : ตุ้ย ปรัชภา อภิวุฒิกาญจนาภา Nuntiya Sathirakul มะลิ สวนดินคานาอัน Sermsiri Muntapong Atuka Hiddenmanna Jirapachara Jankaew

๒) บ้านไหน ที่ทำแผนการศึกษาแบบ ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยเรียนรู้แบบเด็กในโรงเรียน หรือไม่ได้ระบุในแผนการศึกษาว่า ขอใช้วิธีการประเมินผลตามสภาพจริง อาจทำได้ทั้ง ๒ รูปแบบ คือ รับการสอบตามแบบที่เขตฯเสนอ หรือ ๒) มีการหารือ เพื่อแจ้งการขอดำเนินการประเมินตามสภาพจริง ค่ะ

ข้อมูลจาก P’Nhym BaanreanThai

อ่านเพิ่มเติม “การยืนยันรับการประเมินผลตามสภาพจริง”